วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม

1.  อาจารย์ธภัทร ชัยชูโชค อ.ปาล์ม

2.  น.ส.ศิริขวัญ  ชาญณรงค์ แอน

3.  น.ส.อาทิตยา จันทรมณี ฝน

4.  น.ส.ปิยะวรรณ กิจการ กิ่ง

5. นายธนภัทร พูนพานิช โสบ

6. นายปฐมฤกษ์ ติ้งหมวก  จ๊อส

7. นายวุฒิไกร ฆังคะมะโน บี

8. นายจามร กาญจนมุณีย์ มอน

9. นายรัชชานนท์ มณีสุข ระ

10. น.ส.สุภาวดี ทองศรีสุข ฟิล์ม

11. นายกันตภณ วิทยพันธ์  คิง

12. นายธีระพงศ์ คงโต เอ

13. นายกิตติกาญจน์ คชกาญจน์  กาญจน์

14. นายจักรกฤษณ์ นวนแก้ว โอ

15. น.ส.สิริพร ชูสิงแค แอล

16. นางสาว กาญจนา สมพร : ละมุด 

17. นาย วัชรา ดาวราย : แอมป์

18. นาย นิธิพงศ์ พงศ์วงประเสริฐ : นิว

19. นาย สุรศักดิ์ มุณีรัตน์ : ตาล

20. นางสาว อัญชลี แสงอรุณ : โฟม

21. นางสาว พัชรี เมืองสง  จุ๊บแจง

22. นางสาว สุวรรณี หมัดลีมีน : มิง

23. นางสาว วิชุดา หนูแข็ง : แอน

24. นาย ศุชัยยุทธ์ ซอยตะคุ : บ่าว

25. นาย รุสดีน หมะหละ : ดีน

26. นาย อภิลักษณ์ มีชัย : นิว

27. นาย วิรัช บิลอะหลี : โต

28. นาย ธีรวุฒิ แสงทอง : เบล

29. นาย ณัฐพงศ์ เย็นใจ : พี่แม็ค

30. นาย กิตติศักดิ์ ปลื้มใจ : เกมส์

31. นาย พิทยา เฉกฉาย : แพน


ดาวเทียม

          ดาวเทียม คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตรเช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว กาแล็กซี ต่างๆ


ประเภทของดาวเทียม

ดาวเทียมสื่อสาร
          ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที มันจุส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดิน สถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "Transponder" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก ดาวเทียมสื่สารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่ง
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
          การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล  หลักการที่สำคัญของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ Remote Sensing โดยใช้คลื่นแสงที่เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (EME : Electro - Magnetic Energy) ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางส่งผ่านระหว่างวัตถุเป้าหมาย และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล อุปกรณ์ถ่ายถาพที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม มักจะได้รับการออกแบบให้มีความสามารถถ่ายภาพ และมีความหลากหลายในรายละเอียดของภาพได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกประเภททรัพยากรที่สำคัญๆ
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
         ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศด้วยภาพถ่ายเรดาร์ (Radar) และภาพถ่ายอินฟาเรด(Infared) เนื่องจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมสำรวจประเภทหนึ่งจึงมีอุปกรณ์บนดาวเทียมคล้ายกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร จะแตกต่างก็เพียงหน้าที่ การใช้งาน ดังนั้นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจึงมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร กล่าวคือ อุปกรณ์สำรวจอุตุนิยมวิทยาบนดาวเทียมจะส่ง สัญญาณมายังเครื่องรับที่สถานีภาคพื้นดิน ซึ่งที่สถานีภาคพื้นดินนี้จะมีระบบรับสัญญาณแตกต่างกันไปตามดาวเทียมแต่ละดวง
ดาวเทียมบอกตำแหน่ง
       ระบบหาตำแหน่งโดยใช้ดาวเทียม (Global Positioning Satellite System - GPS) ถูกพัฒนาโดยทหารสำหรับการใช้งานในกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เป็นระบบนำร่องให้กับเครื่องบิน เมื่อดาวเทียมที่ใช้กับระบบ GPS ขยายตัวมากขึ้น จึงมีพื้นที่การครอบคลุมมากขึ้น และได้มีการนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น การนำร่องให้เรือเดินสมุทรพาณิชย์ในบริเวณที่ระบบนำร่องภาคพื้นดิน ไม่สามารถใช้ได้