วิชา คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์ในงาน อุตสาหกรรม 6531101
สอนโดย อาจารย์ ธภทัร ชัยชูโชค
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
**********************************************************
ใบงานที่ 3
ค้นหาบทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
พร้อมทั้งให้แสดงความคิดเห็น
และวิเคราะห์บทความดังกล่าวว่ามีข้อดี ข้อเสีย
หรือผลกระทบต่อตัวนักศึกษา
หรือสังคมอย่างไร
พร้อมทั้งให้แสดงความคิดเห็น
และวิเคราะห์บทความดังกล่าวว่ามีข้อดี ข้อเสีย
หรือผลกระทบต่อตัวนักศึกษา
หรือสังคมอย่างไร
********************************************************
การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite-based communication)
ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม จะถูกส่งไปในช่วงของอวกาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความห่างจากพื้นโลกโดยประมาณ 35.786 กิโลเมตร ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดาวเทียม ในขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบโลกตามการหมุนของโลก
ประวัติการสื่อสารดาวเทียม
ดาวเทียมเป็นสิ่งประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในระบบการสื่อสารที่พัฒนามาจากแนวความคิดของ เซอร์ อาร์เธอร์ ซี คลาร์ก ในปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. ๒๕๒๗) ผู้แต่งหนังสือ อะ สเปซ ออดิสซี ๒๐๐๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารระยะทางไกลและครอบคลุมพื้นที่กว้าง เช่น ส่งสัญญาณจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่งของโลก โดยอาจเป็นสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณภาพ เสียง และการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นต้น ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ก่อให้เกิดการสื่อสารนั้นประกอบไปด้วยสองส่วนหลักคือ สถานีภาคพื้นดิน และสถานีอวกาศ โดยที่สถานีภาคพื้นดินประกอบไปด้วยสถานีรับและสถานีส่ง ส่วนการรับและส่งสัญญาณระหว่างสถานีภาคพื้นดินและสถานีอวกาศนั้น ตัวอย่างการใช้งานในย่านความถี่ซีแบนด์คือ ที่ความถี่ขาขึ้น ๖ กิกะเฮิรตซ์ และความถี่ขาลง ๔ กิกะเฮิรตซ์ หรือย่านความถี่เคยูแบนด์ที่ความถี่ขาขึ้น ๑๔ กิกะเฮิรตซ์ และความถี่ขาลง ๑๒ กิกะเฮิรตซ์ เป็นต้น สำหรับรูปแบบของวงโคจรและประเภทของดาวเทียมนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของดาวเทียมแต่ละดวงที่มีระดับความสูงต่างกัน อาทิ ดาวเทียมสื่อสารโทรคมนาคม มีระดับความสูงประมาณ ๓๕,๗๘๖ กิโลเมตรจากพื้นโลก ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร มีระดับความสูงไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลเมตรจากพื้นโลก ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยามีระดับความสูงไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลเมตรจากพื้นโลก และดาวเทียมนำร่องมีระดับความสูงระหว่าง ๒,๐๐๐ กิโลเมตร ถึง ๓๕,๗๘๖ กิโลเมตรจากพื้นโลก
ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม
ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นระบบที่ก่อให้เกิดการสื่อสารได้อย่างกว้างไกลไร้ขอบเขต แม้ในเขตพื้นที่ห่างไกล เช่น บริเวณหุบเขา มหาสมุทร เป็นต้น ระบบการสื่อสารนี้ประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก คือ สถานีภาคพื้นดิน (Ground Segment) และสถานีอวกาศ (Space Segment) โดยที่สถานี ภาคพื้นดินประกอบด้วยสองสถานีคือ สถานีรับและสถานีส่ง ซึ่งการทำงานของทั้งสองสถานีนี้มีลักษณะคล้ายกันคือ โดยสถานีภาคพื้นดินมีอุปกรณ์หลักอยู่สี่ชนิดดังรายละเอียด
1. อุปกรณ์จานสายอากาศ (Antenna Subsystem) มีหน้าที่ส่งสัญญาณและรับสัญญาณจากดาวเทียม
2. อุปกรณ์สัญญาณวิทยุ (Radio Frequency Subsystem) มีหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุที่ใช้งาน
3. อุปกรณ์แปลงสัญญาณวิทยุ (RF/IF Subsystem) ประกอบด้วยสถานีส่งสัญญาณและสถานีรับสัญญาณ โดยด้านสถานีส่งถูกเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาขึ้น (Up Converter Part) ซึ่งทำหน้าที่แปลงย่านความถี่ที่ได้รับมาให้เป็นความถี่ที่ใช้กับงานระบบดาวเทียม จากนั้นส่งสัญญาณที่แปลงความถี่ให้ภาคขยายสัญญาณ เพื่อขยายให้เป็นสัญญาณความถี่สูง หลังจากนั้นนำส่งไปยังดาวเทียม และเช่นเดียวกันสำหรับด้านสถานีรับนั้นเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาลง (Down Converter Part) ทำหน้าที่คือแปลงสัญญาณที่ได้รับจากดาวเทียมไปเป็นความถี่ที่ใช้งาน จากนั้นส่งต่อให้ภาคแยกสัญญาณ (Demodulator) ต่อไป
4. อุปกรณ์ผสมสัญญาณและแยกสัญญาณ (Modulator/Demodulator) มีหน้าที่แปลงข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านดาวเทียมให้เป็นสัญญาณคลื่นวิทยุที่มีข้อมูลผสมอยู่ให้นำไปใช้งานได้
สำหรับสถานีอวกาศ (Space Segment) นั้น ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
1. อุปกรณ์ขับเคลื่อนดาวเทียม (Propulsion Subsystem) ทำหน้าที่ทำให้ดาวเทียมหมุนและรักษาตำแหน่งไว้ด้วยก๊าซหรือพลังงานความร้อนจากไฟฟ้า
2. อุปกรณ์ควบคุมดาวเทียม (Spacecraft control Subsystem) มีหน้าที่รักษาสมดุลของดาวเทียมเพื่อไม่ให้ดาวเทียมหลุดวงโคจรออกไปในอวกาศได้
3. อุปกรณ์สื่อสาร (Electronic Communication Subsystem) มีหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีส่งแล้วส่งต่อไปยังสถานีรับโดยมีช่องสัญญาณรับความถี่ขาขึ้น (Transponder) จากนั้นแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณความถี่ขาลง (Downlink Frequency) แล้วจึงส่งมายังสถานีรับภาคพื้นดินต่อไป
4. อุปกรณ์พลังงานไฟฟ้า (Electrical Power Subsystem) มีหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์สื่อสารและภาคควบคุมต่างๆ บนดาวเทียมนอกจากนี้ยังเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในตัวเก็บประจุหรือแบตเตอรี่ (Battery) เพื่อสำรองไว้ใช้งาน
5. อุปกรณ์สายอากาศ (Antenna Subsystem) ทำหน้าที่รับสัญญาณจากภาคพื้นดิน
6. อุปกรณ์ติดตามและควบคุม (Telemetry Tracking and Command Subsystem: TT&C) มีหน้าที่ติดตามการ ทำงานของดาวเทียมและควบคุมรักษาตำแหน่งของดาวเทียมให้ถูกต้องเสมอโดยอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม
สำหรับตัวอย่างระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมแบบค้างฟ้า (Geostationary Satellite)นั้น ส่วนประกอบของดาวเทียมต่างๆ จะประกอบกันทำหน้าที่หลักๆ คือ ทำหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินและทำการตัดสัญญาณรบกวนที่ปนมากับสัญญาณข้อมูลที่ส่งมา จากนั้นขยายสัญญาณให้มีกำลังสูงขึ้น และทำการแปลงสัญญาณให้มีความถี่ต่ำลง เพื่อป้องกันการรบกวนระหว่างความถี่ขาขึ้น และความถี่ขาลง โดยมีจานดาวเทียมทำหน้าที่รับ และส่งสัญญาณกลับไปยังสถานีภาคพื้นดิน โดยทั่วไปความถี่ขาขึ้น และความถี่ขาลงนั้น ดาวเทียมใช้งานในย่านความถี่ ๖ กิกะเฮิรตซ์ (GHz) (C-band) และ ๔ กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งในย่านความถี่ดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับย่านความถี่อื่นๆ เกิดสัญญาณรบกวนน้อยที่สุด โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกจะมีผลกระทบต่อการรับส่งสัญญาณที่น้อย
ลักษณะวงโคจรของดาวเทียม (Satellite Orbit)
เมื่อแบ่งตามระยะความสูง (Altitude) จากพื้นโลกแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
1.วงโคจรระนาบขั้วโลก(Polar Orbit) จะมีลักษณะของวงโคจรเป็นวงกลมอยู่ในแนวของขั้วโลก ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในงานด้านโทรคมนาคม แต่จะใช้ในงานด้าน อุตุนิยมวิทยา และการสำรวจทรัพยากรธรณีดังแสดงในรูป
2. วงโคจรระนาบเอียง(Inclined Orbit) จะมีวงโคจรอยู่เป็นจำนวนมากแตกต่างกันไปตามความเอียง และความรีของวงโคจร จะถูกนำมาใช้สำหรับให้บริการบริเวณละติจูดสูง หรือต่ำมาก ๆ ที่ซึ่งวงโคจรระนาบศูนย์สูตรไม่สามารถให้บริการครอบคลุมไปถึงได้ดังแสดงในรูป
3. วงโคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit "GEO") เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,780 กม. เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดูเหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือ จุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา (เรียกทั่ว ๆ ไปว่า "ดาวเทียมค้างฟ้า")ดังแสดงในรูป
ส่วนประกอบดาวเทียม
โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวเทียมประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
- โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude)
- ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสุญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย
- ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน
- ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
- ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ
- อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้
- เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ
ข้อดีของการสื่อสารดาวเทียม
- ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม- กิจการโทรศัพท์ โทรเลข โทรสารรวมทั้งการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และสัญญาณวิทยุ
- ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศ ทำให้รู้สภาพอากาศ
- ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา เช่น จำนวนและชนิดของเมฆ ความแปรปรวนของอากาศ ความเร็วลม ความชื้น อุณหภูมิ เป็นต้น
- ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติเป็นดาวเทียมที่ถูกใช้สำรวจดูพื้นผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
- ทำให้ทราบข้อมูลทั้งทางด้านธรณีวิทยา ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ข้อเสียของการสื่อสารดาวเทียม
- สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่นๆ
- มีเวลาประวิง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลงของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน
อ้างอิง : https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_electronics/wiki/ea8e4/
http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Principle_of_Satellite_Communications/index.php
http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Principle_of_Satellite_Communications/index.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น